วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สุขศึกษา

ผลกระทบที่เกิดจากการครอบครองการใช้และการจำหน่ายสารเสพติด

สิ่งเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ

ความรู้เกี่ยวกับสารกล่อมสิ่งเสพติดและการป้องกัน
สิ่งเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกัน เป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้
  1. ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะเสพยาชนิดนั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้น ๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม
  2. ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
  3. ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้น ๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ

[แก้] ประเภทของยาเสพติด

จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
  1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาวเป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
  3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
  4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่ กัญชา
จำแนกตามแหล่งที่มา
  1. จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ
  2. จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
จำแนกตามกฎหมาย
  1. พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ
  2. พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน

[แก้] สาเหตุของการติดยาเสพติด

การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก
  • ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง เป็นส่วนใหญ่
  • เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
  • มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
  • ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
  • สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
  • ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้
  • อาจติดจากการเล่นการพนัน หรือ เกม

[แก้] การสังเกตผู้ติดยาเสพติด

ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจ ซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไป จากเดิมที่อาจสังเกตพบได้ คือ
  • ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม
  • อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติ จึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัว อยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
  • ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย
  • ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
  • ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
  • ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
  • ขโมย ปล้น ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
  • ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผลมาจากการติดยาเสพติดเสมอไป อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องอื่นก็ได้ เมื่อสงสัยว่า ผู้ใด ติดยาเสพติด จึงควรใช้การซักถาม อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่ รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมีความคิดที่จะเลิกแต่ทำไม่สำเร็จ การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึง เป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูด ตามความจริง คำถามที่ใช้ไม่ควร ถามว่าติดหรือไม่ แต่ควรถามพฤติกรรมการใ ช้ อาทิถามว่าเคยใช้หรือไม่ ครั้งสุดท้ายที่ใช้เมื่อไหร่ ฯลฯ .

[แก้] ป้องกันยาเสพติด

  1. ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด และพยายามปลีกตัวออกห่างจากบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ ตามความสนใจและความถนัด ระมัดระวังในการใช้ยาต่าง ๆ และศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด
  2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
  3. ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว โดยกฎหมายจะยกเว้นโทษให้ผู้ที่สมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ และเมื่อรู้ว่าใครกระทำผิดฐานนำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
โดย นายมนต์ชัย เตินขุนทด
1. สถานการณ์ยาเสพติด
              สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สรุปผลการดำเนินการปราบปรามยาเสพติด นับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 ถึง 30 เมษายน 2546 ตามนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดขั้น “แตกหัก” ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ผลปรากฏว่า มีการจับกุมผู้ผลิต 423 ราย ผู้ต้องหา 353 คน จับกุมรายสำคัญ 1,505 ราย ผู้ต้องหา 1,729 คน รายย่อย 13,748 ราย ผู้ต้องหา 14,585 คน จับกุมผู้ต้องหาครอบครองยาบ้า 19,112 ราย ผู้ต้องหา 19,663 คน จับกุมผู้เสพ 19,442 ราย ผู้ต้องหา 19,653 ราย ตั้งจุดสกัด 182,123 ครั้ง จับกุมผู้เสพยาเสพติดได้ 5,041 ราย ผู้ต้องหา 5,322 คน ปิดล้อมแหล่งยาบ้า 64,911 ครั้ง จับกุมผู้เสพยาบ้าได้ 10,165 ราย ผู้ต้องหา 10,884 คน เข้าตรวจสถานบริการ 87,776 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 49,718 ราย พบปัสสาวะสีม่วง 2,679 คน รวมผู้ต้องหาที่จับได้ทั้งหมด 54,983 ราย จำนวนผู้ต้องหาทั้งสิ้น 55,983 คน ยึดของกลางยาบ้าได้ทั้งหมด 13,150,335 เม็ด และผลจากมาตรการดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตแล้วประมาณ 1,600 คน ?
                 ผลสะท้อนจากนโยบายของรัฐบาล ได้รับเสียงปรบมือที่ดังกึกก้องจากประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของ “การวิสามัญฆาตกรรม” และ “การฆ่าตัดตอน” จากสื่อมวลชน นักวิชาการ และนักสิทธิมนุษยชน อย่างรุนแรงถึงขนาดนายกทักษิณเองก็ออกมาตอบโต้ว่า “ยูเอ็น (UN) ไม่ใช่พ่อ” “พ่อผมชื่อเลิศ แม่ผมชื่อยินดี”
                ปัญหายาเสพติดถึงแม้รัฐบาลมีความตั้งใจจริงที่จะขจัดให้หมดไปจากผืนแผ่นดินไทย แต่จากข่าวทางโทรทัศน์และหน้าหนังสือพิมพ์มีให้เห็นเกือบทุกวันว่า มีการจับยาเสพติดและยึดทรัพย์อยู่เป็นประจำทุกวี่ทุกวัน ในขณะเดียวกันก็มีการวิสามัญฆาตกรรมของเจ้าหน้าที่ทางการ และการฆ่าตัดตอนจากเจ้าหน้าที่ไม่เป็นทางการเกือบทุกรายวัน และที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง พบว่าเด็กและเยาชนหันกลับมานิยมเสพกาวและสารระเหย เพื่อทดแทนยาบ้า เนื่องจากยาบ้าหายาก และมีราคาแพงขึ้นถึง 3 เท่าตัว นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กและเยาวชนหันไปทดลองเสพสารเสพติดใหม่ๆ ที่กฎหมายและผู้ใหญ่อย่างเรายังตามไม่ทัน เช่น ไนตรัสออกไซด์ หรือที่เรียกกันในหมู่วัยรุ่นว่า “ดมตรัส” และ ดิ้ว เป็นต้น
จะเป็นไปได้หรือ? ที่ยาเสพติดจะหมดไปจากประเทศไทยภายในวันที่ 2 ธันวาคม 2546 ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไปแล้ว หรือจะต้องฆ่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกคน ยาเสพติดจึงจะหมดไปจากผืนแผ่นดินสยามอันรมเย็นเมื่อในอดีต
  2. สาเหตุของการใช้สารเสพติด
 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดมีอยู่ 3 ปัจจัย คือ (กรมราชทัณฑ์)
         1. ตัวสารเสพติด
         2. ผู้เสพ
         3. สิ่งแวดล้อม
2.1 สารเสพติด
  โดยตัวของสารเสพติดจะมีฤทธิ์ Reinforcing effect ซึ่งหมายถึงฤทธิ์เสพติด หรือฤทธิ์ที่กระตุ้นให้คนอยากกลับไปใช้ใหม่อีกเรื่อยๆ ซึ่งเป็นฤทธิ์ต่อสมองและจิตใจทำให้เกิด Craving คือ ความยากใช้สารเสพติด โดยสารเสพติดจะไปกระตุ้นสมองบางส่วนทำให้เกิดความพอใจ และนำไปสู่ความยากใช้ (Craving) สารเสพติดในแต่ละตัวจะออกฤทธิ์ในสมองแต่ละส่วนที่ต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว สารเสพติดทั้งหมดจะไปกระตุ้นในส่วนที่เรียกว่า Brain Reward System ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมความพอใจ อยากจะทำ อยากจะใช้อยู่เรื่อยๆ
2.2 ผู้เสพ • เกิดความสงสัย อยากลอง ซึ่งพบในกลุ่มเด็กและเยาวชนผู้มีอายุน้อยมีความกระตือรือร้นอยากท้าทาย อยากทดลอง
• ทัศนคติที่มีต่อสารเสพติด ถ้ามองว่าเป็นสิ่งที่เลว ก็จะไม่อยากลอง แต่ถ้ามีทัศนคติที่ไม่น่ากลัว ก็อาจจะทำให้อยากลองยา
• ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด หากผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดที่ดี ก็จะมองยาในทางลบและไม่คิดที่จะลองเสพยาเสพติด
2.3 สิ่งแวดล้อม • ความหายาก หาง่าย ภายในสภาพแวดล้อม ถ้าหายาได้ง่ายก็จะทำให้เกิดการลองใช้ยาได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้าไม่สามารถหายาได้หรือหายายากก็จะทำให้ไม่มีโอกาสในการทดลองยา
ราคาของที่ถูกหรือแพง ก็จะทำให้เกิดโอกาสในการทดลองยาใช้ยา ที่แตกต่างกันในกรณีของยาที่ราคาถูกก็จะทำให้มีความสามารถในการซื้อหามาลองได้
• กลุ่มหรือเพื่อน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเสพยา ถ้าอยู่ในกลุ่มที่ใช้ยาก็จะเกิดการชักชวนให้ทดลอง หรือในบางกรณี วัยรุ่นมักจะมีความรู้สึกว่าถ้าจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มได้จะต้องเหมือนๆ กับกลุ่ม
• ประเพณี วัฒนธรรม หรือศาสนา เช่น  การใช้สารเสพติดในการบำบัดหรือรักษาโรคหรือความเจ็บป่วยเป็นต้น (แก้ไขเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553)
3. ผลกระทบของปัญหายาเสพติด
              ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ “เป็นภัยคุกคาม กัดกร่อน บ่อนทำลาย” ประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (แผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9. 2545 : 12 – 14)
ผลกระทบต่อตัวบุคคล
1. ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย กรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ตัวยาบางตัว เช่น แอมเฟตามีน หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลาง และทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ
2. ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิกทางการเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ
3. ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุกมักปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยที่นำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม
1. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
2. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติทางจิต
3. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
4. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัวได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ
ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ 1. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และการคุมประพฤติ นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
2. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่น โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ
1. การผลิตและการค้ายาเสพติด จัดเป็นกลุ่มธุรกิจ และเศรษฐกิจนอกกฎหมายที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิต แม้ว่าการค้ายาเสพติดบางส่วนจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้เมื่อมีการค้าขาย แต่ก็เป็นรายได้สำหรับคนบางกลุ่มที่กระทำผิดกฎหมายและเอารัดเอาเปรียบสังคม
2. ธุรกิจการค้ายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดการสูญเสียเงินตราแก่กลุ่มผู้ผลิตที่อยู่ภายนอกประเทศจำนวนมหาศาลซึ่งจากการศึกษาวิจัยศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจการเมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2540 พบว่าเศรษฐกิจการค้ายาเสพติดมีมูลค่าระหว่าง 28,000-33,000 ล้านบาท
3. ปัญหายาเสพติดทำให้รัฐบาลต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมาก เพื่อใช้ในการป้องกัน ปราบปราม บำบัดรักษาและฟื้นฟู แทนที่จะนำไปใช้ในการด้านอื่นๆ ที่มีความจำเป็น เช่น การศึกษา การช่วยเหลือผู้ด้วยโอกาส ฯลฯ
4. ปัญหายาเสพติดส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ เพราะทำให้ภาครัฐ ภาคเอกชนต้องสูญเสียทรัพยากรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยไม่จำเป็น รวมทั้งกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ เพราะยาเสพติดมีส่วนทำลายพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมองของเด็กและเยาวชน และแรงงานที่จะเป็นพลังของประเทศไทยในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเศรษฐกิจใหม่ที่ต้องการความรู้และพลังปัญญาเป็นฐานในการพัฒนา
ผลกระทบต่อความมั่นคงและชื่อเสียงของประเทศ
1. ผลสำรวจของสำนักวิจัยเอแบค ระหว่าง 1-4 พฤศจิกายน 2542 พบว่าประชาชนร้อยละ 31.7 เห็นว่ายาเสพติดเป็นปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศโดยมีความสำคัญเป็นอันดับ 2 รองจากปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของชาวต่างชาติ สาเหตุเนื่องจากปัญหายาเสพติดได้ส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งผลิตยาเสพติด
2. การแพร่ระบาดของยาเสพติด จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทยไม่เป็นที่ไว้วางใจของนานาชาติในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยวหรือลงทุนทางการค้า และธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ประเทศคู่แข่งฉวยโอกาสในการโจมตีประเทศไทย
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
                 จากผลการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย มีลักษณะการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แม้แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีความตั้งใจจริง พยายามที่จะปราบปรามทั้งบนดินและใต้ดินเพื่อที่จะขจัดยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหานี้ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในชุมชนระดับรากหญ้า มาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ บทบาทของสถาบันทางสังคมไทยในระดับรากหญ้า ซึ่งประกอบด้วย สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันโรงเรียน และสถาบันศาสนา เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน ผู้เขียนขอแยกประเด็นการป้องกันปัญหายาเสพติดกับประเด็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดออกจากกัน เพื่อให้สะดวกแก่การเสนอแนวคิด
4.1 การป้องกันปัญหายาเสพติด
               ปัญหายาเสพติดทำให้ประเทศชาติของเราต้องสูญเสียพลเมือง เด็กและเยาวชนไปเป็นจำนวนมาก ยาเสพติดทำลายทั้งสุขภาพ อนาคต ตลอดจนการสูญเสียชีวิต การป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นมาตรการที่ดีที่สุด ดั่งคำสุภาษิตที่ว่า “ป้องกันไว้ ดีกว่าแก้” แม้ในความเป็นจริงจะเรื่องยากมากที่พวกเราจะปกป้องลูกหลานของเราให้รอดพ้นจากวงจรของยาเสพติด แต่หากเรานิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร โดยอ้างว่าไม่ใช่หน้าที่ ไม่ใช่ธุระ การป้องกันปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งหรือองค์การใดองค์กรหนึ่ง แต่หากเป็นหน้าที่ของทุกคนในชาติที่จะต้องร่วมมือร่วมใจป้องกันไม่ให้ลูกหลานของเราตกเป็นทาสของวงจรอุบาทว์ โดยเฉพาะสถาบันทางสังคมในระดับรากหญ้าควรต้องมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการป้องกันปัญหานี้ พอจะแยกบทบาทหน้าที่ในการป้องกันปัญหายาเสพติดของสถาบันทางสังคมในระดับรากหญ้าได้ดังนี้
4.1.1 บทบาทของสถาบันครอบครัว
                สถาบันครอบครัวถือเป็นสถาบันแรก ที่มีบทบาทหน้าที่ในการป้องกันปัญหายาเสพติดโดยตรง ทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย พ่อแม่ คือ บุคคลสำคัญในการอบรม เลี้ยงดู สั่งสอนลูก นอกจากนี้ยังจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน
                 สถิต วงศ์สวรรค์ (อ้างถึงใน ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. 2545 : 129) กล่าวไว้ว่า การอบรมเลี้ยงดูเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์รู้กฎเกณฑ์ทางสังคม โดยผ่านทางผู้ให้การอบรม (พ่อ แม่) ทำให้คนคนนั้นเกิดการเรียนรู้และเกิดการประพฤติปฏิบัติตาม กระบวนการอบรมเลี้ยงดูจะอบรมกล่อมเกลาเด็กตั้งแต่เกิด โดยบุคคลที่อยู่แวดล้อม เช่น พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง เป็นต้น ทำให้เด็กได้รู้สึก ได้เข้าใจ ได้รู้สิ่งดีไม่ดี สิ่งใดควรทำไม่ควรทำ จนทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ เช่น เรียบร้อย เกเร มีมารยาท ไม่มีมารยาท ไปจนถึงลักษณะซื่อสัตย์ คดโกง มีเมตตา หรือโหดร้าย
                  ดังนั้นสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะพ่อ แม่ เป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการอบรมเลี้ยงดู ให้ความรู้สิ่งไหนดีไม่ดี สิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ จะต้องปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับลูก รวมถึงการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูก เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำที่ถูกต้อง สร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัวไม่สร้างปัญหาให้กับครอบครัว อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวานิช เคยกล่าวในที่ประชุมสัมมนา เรื่อง บทบาทของเพศที่ 3 ว่า “ทำครอบครัวให้ร่มเย็นเด็กจึงอยากจะอยู่บ้าน ถ้าหากครอบครัวมีแต่ความร้อนรุ่มเด็กก็ไม่อยากจะอยู่บ้าน”
4.1.2 บทบาทของสถาบันชุมชน                   สถาบันชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กถัดจากสถาบันครอบครัว ชุมชนจึงมีส่วนสำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะชุมชนที่มีขนาดเล็ก คนในชุมชนจะต้องช่วยกันอบรมสั่งสอน ปลูกฝังค่านิยม อุดมการณ์ คุณธรรมที่ดีงามและเหมาะสม ช่วยกันสอดส่องดูแลเด็กและเยาวชนในชุมชนโดยเปรียบเสมือนเป็นลูกหลานของตนเอง ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี คนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดี คนในชุมชนประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน เด็กและเยาวชนย่อมเจริญเติบโต และเรียนรู้แต่สิ่งดีๆ จากชุมชน
4.1.3 บทบาทของโรงเรียน
                 โรงเรียนเป็นอีกสถาบันหนึ่ง ที่จะต้องทำหน้าที่เชื่อมต่อจากสถาบันครอบครัว โรงเรียนเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนที่กว้างกว่าครอบครัว และเป็นสถาบันที่เด็กต้องใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนนานมาก และอยู่ในช่วงวัยของการเรียนรู้ การเลียนแบบ การจดจำ เป็นต้น ดังนั้นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งได้แก่ ครู จะต้องทำหน้าที่ในการถ่ายทอด การอบรม สั่งสอน รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก
ชีวิตส่วนใหญ่ของเด็กในปัจจุบันจะใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนนานกว่าในอดีต เด็กมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งที่ดีและไม่ดีจากโรงเรียนมากมาย ดังนั้นสถาบันโรงเรียนจึงจะต้องมีบทบาทและหน้าที่มากกว่าในอดีต นอกจากจะทำหน้าที่ถ่ายทอดให้ความรู้แล้ว สถาบันโรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เหมือนสถาบันครอบครัวแห่งที่ 2 ซึ่งจะต้องคอยทำหน้าที่ปลูกฝังค่านิยมที่ดี ให้ความอบอุ่น ให้คำปรึกษาที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชนของชาติ
4.1.4 บทบาทของสถาบันศาสนา
                 ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในชุมชน มายาวนานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สถาบันศาสนาเป็นแหล่งที่สร้างและค้ำจุนคุณธรรมความดีงาม สั่งสอนให้สอนให้คนเป็นคนดี ไม่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่เสื่อมเสียศีลธรรมอันดีงาม ทั้งตัวแทนที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดศาสนายังเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในชุมชน
                  สถาบันศาสนา เป็นสถาบันอีกสถาบันหนึ่งที่เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน คนในชุมชนจะให้ความเกรงใจเป็นพิเศษ และคนในชุมชนยังยึดถือแบบอย่างที่ดีงามของสถาบันศาสนาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิต
4.2 การแก้ไขปัญหายาเสพติด
                    สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า มีทั้งผู้เสพ ผู้จำหน่าย ผู้ผลิต และผู้เสี่ยงที่จะไปใช้ยาเสพติดเพราะถูกชักจูงหรืออยากทดลอง ดังนั้นการป้องกันปัญหาอย่างเดียวทำไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหายาเสพติดไปพร้อมๆ กัน
ในเมื่อสถานการณ์ปัจจุบันมีทั้งผู้เสพ ผู้จำหน่าย ผู้ผลิต และกลุ่มเสี่ยง เราจะทำอย่างไรบุคคลเหล่านี้จึงจะหมดไป ในที่นี้ไม่ได้หมายความเช่นเดียวกับรัฐบาลที่กำลังทำให้บุคคลเหล่านี้หมดไปจากโลกนี้ แต่หมายความว่า ทำอย่างไรบุคคลเหล่านี้จะเลิกเสพ เลิกผลิต เลิกค้า
4.2.1 บทบาทของสถาบันครอบครัว
                    สถาบันครอบครัวถือเป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกันปัญหายาเสพติด ในขณะเดียวกันก็เป็นสถาบันแรกที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติด เมื่อเราทราบว่าบุตรหลานของเราติดยาเสพติด เราจะทำอย่างไร? เราจะต้องตั้งสติให้ดี อย่าตกใจเกินกว่าเหตุ แล้วค้นหาให้พบถึงสาเหตุของการติดยา พูดคุยทำความเข้าใจถึงโทษของยาเสพติด ให้ความหวังกับลูก ปรึกษาแพทย์หรือผู้ที่มีความรู้ด้านนี้เพื่อทำการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจเพื่อป้องกันการกลับไปใช้ยาอีกครั้งหนึ่ง
4.2.2 บทบาทของสถาบันชุมชน                     สถาบันชุมชนต้องทำบทบาทหน้าที่ต่อจากสถาบันครอบครัว สอดส่องดูแลบุคคลในชุมชน ปลูกฝังค่านิยมที่ดี สร้างวัฒนธรรมที่ดีงาม ให้การยกย่องนับถือคนดี ไม่นับถีอคนที่เงิน ไม่ให้เกียรติคนที่ประพฤติปฏิบัติตนไม่ดี
                    นอกจากนี้ชุมชนต้องเข้าใจเห็นใจผู้ที่กลับตัวกลับใจ เห็นความสำคัญของกลุ่มคนดังกล่าวเป็นพิเศษ เพราะหากกลุ่มคนดังกล่าว หันกลับไปใช้ยาเสพติดอีกก็จะสร้างปัญหาให้กับชุมชนอย่างไม่รู้จักจบสิ้น หากยังมีบุคคลที่ยังมีกิเลสหนาอยู่อีกไม่ยอมลด ละ เลิก ชุมชนจะต้องมีความเข้มแข็งพอที่จะใช้มาตรการทางสังคมขั้นเด็ดขาด เช่น ไม่คบค้าสมาคมด้วย ไม่ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน คนในชุมชนไม่พูดจาด้วย ไม่ยอมรับว่าบุคคลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็นต้น
4.2.3 บทบาทของโรงเรียน
                   เด็กและเยาวชนใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียน ครูจึงเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โรงเรียนจะต้องกล้าเผชิญกับความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นห่วงแต่ชื่อเสียงของโรงเรียน เมื่อโรงเรียนประสบกับปัญหาเด็กนักเรียนติดยาจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันทีเพื่อหาแนวทางแก้ไข ส่งไปทำการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจเพื่อที่จะสามารถกลับมาเรียนหนังสือได้ตามปกติ ครูจะต้องมีบทบาทสำคัญในการชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับนักเรียนที่ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจเพื่อที่จะสามารถเรียนหนังสือได้ตามปกติ
4.2.4 บทบาทของสถาบันศาสนา
                    หลักคำสอนของศาสนามีส่วนสำคัญในด้านจิตใจ ทำให้จิตใจสงบ เป็นที่พึ่ง และที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในชุมชน ทุกชุมชนมีสถาบันทางศาสนาเป็นแหล่งที่พึ่งตั้งแต่เกิดจนถึงตาย สถาบันศาสนาจึงมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยอาจจะทำหน้าที่ในการปรับสภาพจิตให้ให้แก่ผู้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟู หรือการใช้หลักคำสอนของศาสนาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน เป็นต้น
5. บทสรุป
              หากเราย้อนกลับไปดูว่าสถาบันต่างๆ ในสังคมไทย โดยเฉพาะสถาบันทางสังคมในระดับรากหญ้า ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันโรงเรียน สถาบันศาสนา ได้ทำบทบาทหน้าที่ของตนครบถ้วนสมบูรณ์แล้วหรือยัง หากยังไม่ทำจงเริ่มต้นทำบทบาทหน้าที่ตั้งแต่วันนี้
              เมื่อสถาบันครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ศาสนา ต่างทำหน้าที่บทบาทของตนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และเข้มแข็ง และเมื่อชุมชนหลายๆ ชุมชนมีความเข้มแข็ง โดยการขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เวลานั้นแหละสังคมไทยจึงจะปลอดจากยาเสพติด
               ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติ ดังนั้นการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงมิใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือองค์การใดองค์กรหนึ่ง แต่หากเป็นหน้าที่ของทุกคนในชาติที่จะต้องร่วมมือ ร่วมใจกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การขจัดยาเสพติดให้หมดไปจากแผ่นดินไทยก่อนที่ชาติไทยจะตกเป็นทาสของ “ยาเสพติด” 

4 สารเสพติด

     
องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายของสารเสพติดไว้คือ สาร หรือยา ที่รับเข้าสู่ร่างกาย จะโดยวิธี รับประทาน สูบ ฉีด หรือดมก็ตาม แต่จะทำให้มีผลต่อร่างกายจิตใจของผู้เสพ ในลักษณะต่อไปนี้

1.
มีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีก
2.
ต้องการเพิ่มยา หรือสารนั้นขึ้นเรื่อยๆ
3.
เมื่อหยุดใช้ยาหรือสารนั้นๆ จะทำให้เกิดอาการขาดยา
4.
ผู้ที่ใช้เป็นเวลานาน จะเกิดผลร้ายต่อสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ
                               

2.3.4.1 ประเภทของสารเสพติด
     สารเสพติดมีหลายประเภท ซึ่งสามารถจำแนกได้ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด พ.. 2522 และจำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์ของยาได้ดังนี้
1. จำแนกตามพระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษร้ายแรง ได้แก่ เฮโรอีน แอมเฟตามีน เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี
ประเภทที่
2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป ได้แก่ มอร์ฟีน โคเคน โคเดอีน ฝิ่นประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีส่วนผสมของยาเสพติดประเภทที่2 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นตำหรับยา ได้แก่ โคเดอีน  ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย
ประเภทที่
4 สารที่ใช้ในการผลิตสารเสพติดประเภทที่1 หรือ 2 เช่นอะซิติลคลอไรด์ ประเภทที่5 ยาเสพติดที่มิได้จัดอยู่ในประเภทที่1-4 เช่น กัญชา กระท่อม เห็ดขี้ควาย
2. จำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์  2.1 ออกฤทธิ์กดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน  สารเสพติดเหล่านี้จะทำให้ง่วง ซึม และ หมดแรง นอกจากนี้ยังกดศูนย์การหายใจ ทำให้หายใจช้าลง และหยุดหายใจได้
2.2
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน โคเดอีน กระท่อม สารเสพติดเหล่านี้จะ กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ตื่นตัว กระวนกระวาย ไม่ง่วงนอน  เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็จะหมดแรง  เพราะร่างกายไม่ได้พักผ่อน  จะเกิดอาการตัวสั่น ตึงเครียด ถึงกับหมดสติ และเสียชีวิตได้
2.3
ออกฤทธิ์หลอนจิตประสาท เช่น กัญชา  แอลเอสดี ( LSD: Lysergic acid diethylamide)   สารเสพติดนี้จะทำให้เกิดประสาทหลอน เห็นภาพผิดไปจากปกติ รสสัมผัสเปลี่ยนแปลง  รวมทั้งอายตนะทั้งห้าของร่างกายแปรปรวน
2.4
ออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา ถ้าเสพเพียงเล็กน้อย จะมีฤทธิ์กดประสาทอยู่ระยะหนึ่ง  ต่อเมื่อเสพมากขึ้น จะออกฤทธิ์หลอนประสาทได้                        
2.3.4.2 สาเหตุของการติดสารเสพติด
     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดสารเสพติด จำแนกได้ 3 ประการดังนี้
1.
ยาและฤทธิ์ของยา จากการศึกษาพบว่า การเสพสารเสพติดนั้น เมื่อเสพแล้วจะมีฤทธิ์ทำให้ เกิดความสบายไร้กังวล ครื้นเครง ทำให้ผู้เสพติดใจ และกลายเป็นการติดสารเสพติดในที่สุด
2. ตัวผู้เสพ การที่ผู้เสพจะติดสารเสพติดได้ อาจเนื่องมาจากสาเหตุต่อไปนี้
   
2.1 สภาพร่างกาย อาจเนื่องมาจากการเจ็บป่วย และใช้ยาบำบัดรักษา เช่น เนื้องอก มะเร็ง หรือซื้อยามาใช้เอง  เมื่อใช้บ่อยๆทำให้ติด เช่น การติดยาแก้ไอที่ส่วนผสมของโคเดอีน
    2.2
สภาพจิตใจ นักจิตวิทยาพบว่า ผู้มีลักษณะบุคลิกภาพที่อ่อนแอ วู่วาม ขาดความมั่นใจ ในตนเองมีปัญหาในครอบครัว หรือในโรงเรียน ตลอดจนผู้ที่มีความวิตกกังวลบ่อยๆ หรือพวกปัญญาอ่อน มีแนวโน้มที่จะติดสารเสพติดได้ง่าย
3. สิ่งแวดล้อม  ซึ่งอาจเนื่องมาจากบุคคลใกล้ชิด หรือรู้จัก โดยการชักชวน หรือถูกหลอกให้ ลองยาเสพติด เนื่องจากสารเสพติดมีรูปแบบต่างๆหลายรูปแบบเช่น เป็นแคปซูล ลูกอม สติคเกอร์ เป็นต้น ทำให้ผู้ถูกชักชวนมีแนวโน้มอยากลอง หรือเกิดความคึกคะนอง เพื่อแสดงความกล้าของตน เพราะคิดว่าไม่สามารถติดได้ง่ายๆ หรือไม่ทราบว่าเป็นอันตราย  เมื่อมีการใช้บ่อยครั้งขึ้น ก็ทำให้ติดสารเสพติดนั้นได้




                               

2.3.4.3 ผลกระทบจากการเสพสารเสพติด
ปัญหาที่เกิดจากการเสพสารเสพติด มีผลต่อด้านต่างๆดังนี้
1. ปัญหาด้านสุขภาพผู้เสพ สารเสพติดจะมีฤทธิ์ทำให้สุขภาพผู้เสพ เสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว เพราะระบบต่างๆใน ร่างกายได้รับพิษจากสารเสพติดชนิดนั้นๆ ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานต่ำ เกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆได้ง่าย เช่น โรคติดเชื้อ โรคผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร หรือแม้กระทั่งทำให้ติดเชื้อเอดส์จากการใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด หรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เนื่องจากการควบคุมระบบประสาทบกพร่อง ทำให้เหม่อลอย ไม่มีสมาธิ
2.
ปัญหาครอบครัว ผู้ติดสารเสพติด จะขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว ทำงานไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้รับความ
ไว้วางใจ หรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน และยังเป็นภาระแก่ครอบครัว ถูกสังคมรังเกียจ ทำให้เสียชื่อเสียง และอาจจะเกิดปัญหาครอบครัวแตกแยก
3.
ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศไทย ปัญหาการระบาดของสารเสพติด กำลังลุกลามและเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา พบว่ามีการใช้สารเสพติดมากขึ้น ช่วงอายุที่ติดยาส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 16-20 ปี  ซึ่งเป็นวัยที่จะต้องเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศชาติในอนาคต  นอกจากนี้ยังพบว่า การซื้อสารเสพติด จะต้องสูญเสียเงินจำนวนมาก โดยเฉลี่ย ผู้เสพ 1 คน จะต้องซื้อยาอย่างน้อยวันละ 50 บาท หรือเกือบปีละ 20,000 บาท แต่ในความเป็นจริง ยาเสพติดมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ  ดังนั้นจึงมีการสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากต่อการซื้อสารเสพติดมาใช้  ซึ่งในขณะเดียวกัน รัฐต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อการป้องกัน ปราบปราม และบำบัด ด้วยงบประมาณที่สูง  ทำให้สูญเสียงบประมาณในการพัฒนาประเทศ  แทนที่จะได้นำงบประมาณไปพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น การศึกษา
4.
ปัญหาการเมือง สารเสพติด เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศชาติประการหนึ่ง เพราะประเทศชาติ
จะก้าวหน้า มั่นคง ก็ต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชากรเป็นสำคัญ การเสพสารเสพติดจึงถือเป็นบ่อนทำลายประเทศชาติ และยังอาจจะก่อให้เกิดปัญหาความเข้าใจผิดทางด้านการเมืองได้อีกด้วย เนื่องจากมีการลักลอบค้าสารเสพติดข้ามชาติ                               
2.3.4.4 การแก้ไขปัญหาสารเสพติด
          ปัจจุบัน ปัญหาสารเสพติด เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข จึงกำหนดให้มีโครงการป้องกัน และบำบัดการติดสารเสพติด โดยมีเป้าหมายเพื่อ ก่อให้เกิดการประสานงานอย่างใกล้ชิดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขีดความสามารถในการรักษา เน้นหนักด้าน         การป้องกัน และการให้สุขศึกษา ขยายแหล่งบริการถอนพิษยาและฟื้นฟูจิตใจ ฝึกอบรม และเพิ่มพูนกำลังเจ้าหน้าที่ในแขนงนี้ และยังมีมาตรการแก้ไขดังนี้
1. การป้องกัน
1.1 
การป้องกันตนเอง ทำได้โดย
    1.1.1
ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด ตลอดจนติดตามข่าวสารถึงพิษภัย และโทษ ของสารเสพติด
    1.1.2
ไม่ทดลองใช้สารเสพติดทุกชนิด และปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
    1.1.3
ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจจะเสพติดได้
    1.1.4
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
    1.1.5
เลือกคบเพื่อนที่ดี และชักชวนกันไปในทางที่สร้างสรรค์
    1.1.6
เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางที่แก้ไขอย่างเหมาะสม หรือปรึกษาผู้ใหญ่

1.2 ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
1.2.1
สร้างความรัก ความอบอุ่น และสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
1.2.2
ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสม
1.2.3
ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับสารเสพติดทุกชนิด
1.2.4
ให้กำลังใจ และหาหนทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัว ติดสารเสพติด
1.3 ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
1.3.1 ให้ความร่วมมือกับชุมชนในการต่อต้านสารเสพติด

1.3.2
ช่วยเหลือ ชุมชน ในการสอดส่อง ข้อมูล เกี่ยวกับ สารเสพติดในชุมชน
1.3.3
เมื่อทราบแหล่งค้า และผลิตสารเสพติด  ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที  ที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โทร 02-245 9414 หรือ 02- 247 0901 –19 ่อ 258 หรือที่ศูนย์แจ้งข่าวยาเสพติด  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่1688
2. การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด       หลักในการบำบัดรักษานี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ทำลายพิษของสารเสพติด ออกจากร่างกาย และฟื้นฟูสภาพจิตใจ ให้ผู้ติดสารเสพติด สามารถกลับไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การบำบัดรักษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้
1) ระยะถอนยา
  เป็นการใช้ยาเพื่อการรักษาบำบัด อาการทุกข์ทรมานทางกาย ให้ลด น้อยลง หรือเรียกว่าการถอนพิษยา ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
2) ระยะฟื้นฟูจิตใจ หลังจากถอนพิษยาแล้ว ก็จะเริ่มให้การอบรม โดยใช้ศาสนามาช่วยให้
มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  ตลอดจนให้การฝึกอบรมทางด้านวิชาชีพ การเล่นกีฬา และนันทนาการ ซึ่งในระยะนี้ จะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน
3) 
ระยะติดตามผล   เป็นระยะที่ได้ออกจากโรงพยาบาลไปอยู่ที่บ้าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลจะติดตามดูว่า มีการหวนกลับไปใช้สารเสพติดอีกหรือไม่ ระยะนี้อาจจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี  ถ้าพ้นระยะนี้ไปได้ ก็จะสามารถเลิกการใช้สารเสพติดได้อย่างถาวร
ผลกระทบของปัญหายาเสพติด
ยาเสพติดเป็นปัญหาที่  “เป็นภัยคุกคาม กัดกร่อน บ่อนทำลาย”  ประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล   และสังคมส่วนรวมในมิติต่างๆ    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง    (แผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9. 2545 : 12 – 14)
  ผลกระทบต่อตัวบุคคล            ๑. ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย  กรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ ๕๐  นอกจากนี้ตัวยาบางตัว  เช่น  แอมเฟตามีน    หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบ ต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลาง และทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ
         ๒. ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ      และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิกทาง   การเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ
        ๓. ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน      โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุกมักปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยที่นำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและท
ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม        ๑. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
        ๒. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ                     
         ๓. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง   ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข   การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
        ๔. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว    เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ
 ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ
         ๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง       เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ  อัยการ  ศาล ราชทัณฑ์   และการคุมประพฤติ   นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง  การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น   และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
        ๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต     คอรัปชั่น   โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน   การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ยาบ้า เป็นยาเสพติด สารสังเคราะห์มีแอมเฟตามีนเป็นส่วนประกอบ มีชื่อเรียก เช่น ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป นิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดแล้วนำไปลนไฟแล้วสูดดมเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาย จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2441


ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม        ๑. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
        ๒. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ                 
         . ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง   ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข   การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
        ๔. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว    เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ
 ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ
         ๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง       เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ  อัยการ  ศาล ราชทัณฑ์   และการคุมประพฤติ   นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง  การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น   และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
        ๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต     คอรัปชั่น   โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน   การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ยาบ้า เป็นยาเสพติด สารสังเคราะห์มีแอมเฟตามีนเป็นส่วนประกอบ มีชื่อเรียก เช่น ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป นิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดแล้วนำไปลนไฟแล้วสูดดมเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาย จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2441
ลักษณะทางกายภาพ
ยาบ้า มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลือง และสีเขียว เป็นต้น มีเครื่องหมายการค้า เป็นสัญลักษณ์หลายแบบ เช่น รูปหัวม้าและอักษร LONDON มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ , ฬ99 , M , PG ,WY สัญลักษณ์รูปดาว , รูปพระจันทร์เสี้ยว ,99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้าน รูปร่างของยาบ้าอาจพบในลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ กลมแบน รูปเหลี่ยมรูปหัวใจ หรือแคปซูล
ยาบ้า เป็นยากลุ่มแอมเฟทตามีน(Amphetamines) ซึ่งมีหลายตัว เช่น Dextroamphetamine, Methamphetamine เรียกกันแต่เดิมว่า “ยาม้า” ยานี้เคยใช้เป็นยารักษาโรคอยู่บ้างในอดีต สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคผลอยหลับโดยไม่รู้ตัว (Narcolepsy) เด็กที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ขาดความตั้งใจและสมาธิในการเรียน (Attention Deficit Disorder) และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ปัจจุบันนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

 ประวัติ

ยาบ้ามีประวัติที่มายาวนาน โดยสังเคราะห์ได้กว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองใช้กระตุ้นความกล้าหาญและความ อดทนของทหารทั้งสองฝ่าย โดยประมาณกันว่ามีการใช้ยาบ้ากว่า 72 ล้านเม็ดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงครามการใช้ยาบ้าจึงเริ่มแพร่ขยายออกไปสู่สังคม สาเหตุที่เคยเรียกว่า ยาม้า สันนิษฐานได้หลายแง่ บ้างว่าคงมาจากการที่เคยนำไปใช้กระตุ้นม้าแข่งให้วิ่งเร็ว และอดทน บ้างว่าเนื่องจากทำให้ผู้ใช้ยาคึกคะนอง เหมือนม้า อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาเรียกเป็นยาบ้า ก็เพื่อจะเน้นความเป็นพิษของยา ซึ่งเมื่อใช้มากเกินขนาดหรือใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำ ให้ผู้ใช้ยามีลักษณะเหมือนคนบ้าและเนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์สารนี้ไม่ ซับซ้อน ปัจจุบันจึงมีการลักลอบสังเคราะห์ กันอยู่ในประเทศไทย
ในระยะแรก ยาบ้ามีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า ยาขยัน เป็นที่นิยมในกลุ่มนักเรียนที่ต้องดูหนังสือสอบดึกๆ ต่อมาเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน คนขับรถบรรทุก มีชื่อเรียกว่า ยาม้า เหตุที่ได้ชื่อนี้มาจากเครื่องหมายการค้าของบริษัท Wellcome ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ส่งยาชนิดนี้มาขายในประเทศไทย
ในสมัยหนึ่งนักเคมี ทดลองสังเคราะห์ สารที่มีโครงสร้างคล้ายยาบ้ามากมายหลายตัว โดยหวังว่าคงจะมีสักตัวที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่กลับปรากฏว่าสารเหล่านั้น มักไม่มีประโยชน์แต่กลับมีผลเสียต่อจิตอารมณ์แทบทุกตัว สารอนุพันธุ์เหล่านี้ปัจจุบันมีการ ลักลอบสังเคราะห์กันในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และเรียกกันรวมๆ ว่า Designer Drugs ซึ่งหมายถึงสารที่พยายามดัดแปลงสูตรโครงสร้าง ทางเคมีจากสารเดิม ที่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อใช้ทดแทนสารเดิมและหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย
ยาบ้ามีสารประกอบหลักในกลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamine) ซึ่งเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1887 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เอเดเลียโน (Edeleno) ในรูปของแอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) ต่อมาในปี ค.ศ.1888 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นก็สามารถสังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า แอมเฟตามีน และยาบ้าที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้ก็มีสารประกอบหลักเป็นเมทแอมเฟตามีนนี้เอง
ปัจจุบัน มีชื่อเรียกว่า ยาบ้า ตามข้อเสนอของนายเสนาะ เทียนทอง ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งให้นโยบายว่า ชื่อยาม้า ทำให้ผู้เสพเข้าใจว่า เป็นยาที่กินแล้วให้กำลังวังชา มีเรี่ยวแรง คึกคักเหมือนม้า ควรจะเปลี่ยนไปเรียกว่า ยาบ้า เพื่อให้ผู้เสพตระหนักถึงโทษของยาที่ทำให้ผู้เสพไม่สามารถควบคุมสติได้ เกิดความรังเกียจ ทำให้ไม่อยากเสพ และจะช่วยลดจำนวนผู้เสพยาได้ [1] และเปลี่ยนประเภทจากสิ่งเสพติดประเภท 3 ซึ่งจำหน่ายได้ในร้านขายยา เป็นสิ่งเสพติดประเภท 1 ซึ่งห้ามจำหน่าย และมีบทลงโทษต่อผู้ขายรุนแรง เพื่อให้ผู้ขายกลัวต่อบทลงโทษ แต่กลับทำให้ยาบ้ามีราคาจำหน่ายสูงขึ้น จนสร้างผลกำไรต่อผู้ขายเป็นอย่างมาก และมีผู้ผลิตและจำหน่ายมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมให้เสพติดง่ายขึ้น มีฤทธิ์รุนแรงขึ้น จนกลายเป็นปัญหาสังคมในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน แถบชายแดนไทยกัมพูชาจะรับซื้อยาบ้าจากทางว้าแดงส่งผ่านมาทางประเทศลาวแล้วนำยาบ้ามาบดแล้วผสมกับแป้งทำยา (Drug Powder) แล้วนำมาอัดขึ้นรูปใหม่เพื่อให้มีจำนวนเม็ดยาเพิ่มขึ้น ตัวสารเสพติดต่อเม็ดจะลดลงเพื่อเพิ่มกำไร

 การขนส่ง

ในประเทศผู้ผลิต (กลุ่มว้าแดง) จะห้ามประชาชนของเขาเสพยาเสพติดที่เขาผลิตโดยเด็ดขาด ถ้าทางผู้ผลิตทราบจะลงโทษสถานหนักถึงขั้นยิงทิ้งเลยทีเดียว การขนส่งยาเสพติดจากประเทศผู้ผลิตจะส่งกัน 2 ทางคือ
  1. ทางบก โดยผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่หลังสัตว์ (ลา) หรือให้คนงานใส่เป้พร้อมอาวุธบรรทุกมาตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศไทย หรืออ้อมสามเหลี่ยมทองคำผ่านเข้าประเทศลาวสู่ประเทศไทย หรือผ่านลาวลงมากัมพูชาเข้าประเทศไทย
  2. ทางน้ำ ผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่เรือประมงทางฝั่งทะเลอันดามาลงมาทางใต้ของไทย

 การออกฤทธิ์

ยาบ้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้า อาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้

 โทษทางกฎหมาย


ข้อหาบทลงโทษ
ผลิต นำเข้า หรือส่งออกต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หากเป็นการกระทำเพื่อ จำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต ( กรณีคำนวณเป็น สารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อ จำหน่าย)
จำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิตและ ปรับตั้งแต่ 5 หมื่นบาทถึง 5 แสนบาท หากมีสารบริสุทธิ์ ไม่เกิน 100 กรัม แต่ถ้าเกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก ตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
ครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี และปรับ 1 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท (คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย)
เสพต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับ ตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท แต่ปัจจุบันนี้ ผู้เสพจะได้รับการบำบัดจาก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เป็นเวลา 3 เดือน
ใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้ายฯให้ผู้อื่นเสพต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 2 แสนบาท และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุก 4 ปี ถึง 30 ปี และปรับตั้งแต่ 4 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ถึง 5 หมื่นบาท

 การสังเกตผู้ติดยา

วิธีการสังเกตผู้ติดยาแบบทั่วๆไป ประเภทนี้มีหลายวิธี โดยเริ่มต้นจากพฤติกรรมทั่วๆไปเช่น การไม่พักผ่อน นอนดึกเป็นนิสัยแต่ตื่นตอนเช้าตรู่ ไม่ค่อยออกสังคม มีโลกส่วนตัวสูง ชอบอยู่ในสถานที่มิดชิด ปิดห้องนั่งเล่นเกมส์คนเดียว สูบบุหรี่จัด หรือชอบงัดแงะเครื่องจักรกลออกมาทำความสะอาดหรือซ่อมแซม กัดฟันกรามหรือเอามือม้วนที่ปลายผม หรือบีบสิว แต่งหน้าแต่งตัวเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆ เวลาเรียกทานข้าวมักจะไม่มาทานด้วยเพราะยาชนิดนี้จะช่วยให้ผู้เสพไม่หิวข้าว
ให้สังเกตตามซอกตู้ลิ้นชักว่ามีอุปกรณ์การเสพซ่อนอยู่หรือไม่ เช่นหลอด เวลาซักผ้าให้ตรวจดูในกระเป๋าเพื่อดูว่ามีเศษฟรอยซองบุหรี่หรือไม่ (มีลักษณะเป็นกระดาษอะลูมิเนียมบางของซองบุหรี่)
ถ้าบ้านท่านมีแผ่นฝ้าเพดานชนิดเปิดได้ให้สังเกตว่าฝ้าเพดานที่บ้านท่านปิดสนิทดีหรือไม่ เพราะผู้เสพยามักนิยมนำอุปกรณ์การเสพไปซ่อนไว้ที่นั่น ถ้าสงสัยให้เปิดดู ส่วนใหญ่ถ้าแผ่นฝ้าเพดานหากถูกเปิดบ่อยมักจะไม่สนิท รอยมือดำๆติดอยู่ที่แผ่นฝ้าเพดาน
ให้สังเกตกลุ่มเพื่อนที่มาหา เด็กกลุ่มติดยามักร่วมทำกิจกรรมที่ดูเป็นมิตรเสมอ เช่นซ้อมดนตรี วาดภาพ เปิดติว แต่ความจริงแล้วพวกเขาหาโอกาสมารวมตัวกันเสพยา ให้สังเกตว่ากิจกรรมที่เขาทำอยู่นั้นเนิ่นนานกว่าปกติหรือไม่เช่น ซ้อมดนตรีต่อวันๆ ละ 10 ชั่วโมง เล่นเกมส์กันนานหลายชั่วโมง ไม่กินข้าวกินปลา ถือว่าไม่ปกติ
ถังขยะคือแหล่งข้อมูลที่สำคัญของผู้เสพ ให้สังเกตตามถังขยะหน้าบ้านเวลาบุตรหลานท่านไปทิ้งขยะ (มักทิ้งเวลาเช้าตรู่) ผู้เสพจะนำอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นไปทิ้งหรือทิ้งลงโถส้วม
สังเกตผู้ติดยาทางกายภาพของผู้เสพ ให้สังเกตว่าคนติดยาบ้าจะมีหน้าตาที่เรียวเล็ก แขนและขาผ่อมรีบ ใบหน้าดำคล้ำ ขอบตาจะดำ เส้นผมแข็งหรือผมล่วง ร่างกายจะผอมผิดปกติ ไม่ชอบอยู่เฉยๆ มีกลิ่นตัวแรง ลมหายใจจะเหม็น ถ้าไม่แน่ใจว่าบุตรหลานของท่านติดยาหรือไม่ให้ท่านไม่จำเป็นต้องตรวจด้วยยา ให้ใช้วิธีการให้คนๆนั้นยื่นมือยื่นแขนทั้งสองแขนเหยียดตรงมาข้างหน้า แล้วกางมือให้ตั้งฉากกับแขนแล้วกางนิ้วออก หากมีการสั่นผิดปกติ มีแนวโน้มว่าผู้นั้นใช้ยาเสพติด

การบำบัดผู้ติดยาบ้า

การบำบัดรักษาผู้ติดยาบ้าไม่ใช่การทำให้ร่างกายปลอดจากยาเสพติด แต่เป็นการบำบัดรักษาความผิดปกติของร่างกายจากผลของยาเสพติด คือ ความผิดปกติของระบบประสาท (คือผู้เสพจะรู้สึกว่าร่างกายตื่นตัวและมีความต้องการทำในสิ่งที่คิดหรือสิ่งที่ถูกสั่งจากสมอง ) โดยเฉพาะสมองส่วนกลาง (Central nervous system) และสารสื่อเคมีสมอง (Neurotransmitter) สมองของผู้ติดยาเสพติดต้องการฤทธิ์ของยาเสพติดที่จะกระตุ้นให้ระบบสมองทำงานอย่างปกติ หากช่วงใดขาดยาเสพติดไปกระตุ้นก็จะเกิดอาการผิดปกติขึ้น
อาการผิดปกติของร่างกายที่เห็นทันทีที่หยุดยาบ้า คือ อาการถอนพิษยา ซึ่งจะมีอาการหิวบ่อย กินจุ กระวนกระวาย อ่อนเพลียและมีความรู้สึกจิตใจหดหู่ บางรายมีอาการถึงขนาดอยากฆ่าตัวตาย ในระยะนี้ ผู้ติดยาบ้าจะอยากนอนและนอนเป็นเวลานานในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก
ต่อจากอาการถอนพิษยา ผู้ติดยาบ้าจะมีอาการอยากยามาก ในช่วงนี้ผู้ติดยาเสพติดจะมีความ รู้สึกไม่เป็นสุข ไม่มีกำลังทั้งทางร่างกายและจิตใจ อยากที่จะใช้ยาเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้เกิดความกระชุ่มกระชวยกลับมาใหม่
การบำบัดรักษายาบ้าในช่วงแรก เป็นการบำบัดรักษาเพื่อลดอาการถอนพิษยาจึงเป็นการให้ยาตามอาการ เพื่อลดความเครียด อาการซึมเศร้าหรืออาการทางจิตอื่นๆ เช่น อาการหวาดระแวง เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถประคับประคองตนเองผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ หลังจากหยุดยาบ้าประมาณ 3-4 สัปดาห์ อาการถอนพิษยาและอาการอยากยาจะลดน้อยลง
แม้ว่าผู้ติดยาบ้าที่ผ่านการบำบัดรักษาขั้นถอนพิษยาแล้ว จะมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่ความผิดปกติของระบบสมอง พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้แก้ไข จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่ขั้นตอน ฟื้นฟูสมรรถภาพ ต่อไป เพื่อให้ผู้ติดยาบ้าหายขาดไม่หวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีก
การที่ต้องผ่านขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นฟูให้สมองของผู้ติดยาเสพติดกลับมาเป็นสมองของคนปกติ เนื่องจากระบบประสาทของคนติดยาต้องการเสพติดเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้มีสารเคมีสมองพอเพียงที่จะทำให้เกิดความสุขไม่วิตกกังวล หากขาดการกระตุ้นจากยาเสพติด สมองของผู้ติดยาเสพติดจะมีปฏิกิริยาตรงกันข้าม คือผู้ติดยาจะหงุดหงิดไม่เป็นสุข มีความเครียด วิตกกังวลและมีความอยากที่จะกลับไปเสพ ยาเสพติดอีก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรให้ส่วนต่างของสมองได้ปรับตัวกลับเป็นปกติในช่วงที่ระบบสมองปรับตัวเป็นปกติ ผู้ติดยาเสพติดต้องไม่หวนกลับไปเสพยาเสพติดอีก
นอกจากระบบสมองแล้ว พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของผู้ติดยาต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพมีหลายวิธี การที่จะช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด เช่น การเข้าค่ายฟื้นฟูฯ การให้ คำปรึกษา การทำจิตบำบัด และชุมชนบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดเข้าใจถึงปัญหาของตนเองที่นำไปสู่การเสพยาเสพติด ปรับสภาพครอบครัวให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจปัญหาและช่วยกันดูแลประคับประคองผู้ติดยาเสพติด ปรับสภาพกลุ่มเพื่อนให้ห่างไกลจากเพื่อนที่จะมาชักชวนให้เสพยาเสพติด สร้างความมั่นคงทางจิตใจผ่านทางผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มที่เลิกยาแล้ว ให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถยืนหยัดแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่หวนกลับไปเสพยาอีก

 ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์

[2]
ในทางการแพทย์ยาชนิดนี้มีชื่อทางการค้าว่า Desoxyn® ภายใต้สิทธิบัตรของบริษัท OVATION Pharmaceuticals จำกัด (โอเวชั่น ฟาร์มาซูติคอล) มีขนาดตั้งแต่ 5 mg, 10 mg, และ 15 mg หนึ่งกล่องบรรจุร้อยเม็ด ใช้บำบัดโรคซึมเศร้า โรคที่เกี่ยวกับระบบทางหายใจ ภูมิแพ้ ลดความอ้วน
ราคายา Desoxyn ต่อหน่วยประมาณ (แบบถูกกฎหมาย) (หน่วยเงิน US$ ยูเอสดอลล่า)
  • ขนาด 5 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $306
  • ขนาด 10 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $408
  • ขนาด 15 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $520

ปีราคาในเขตกรุงเทพและปริมณฑลราคาในจังหวัดชายแดนใกล้แหล่งผลิตราคาในต่างจังหวัด
2001-200260-7035-40120-150
2003-2005100-15060-80150-200
2005-2006200-250100-120250-300
2006-2008250-350200-250250-400
2009-2010210-270100-150250-300
2011150-180100-120250-500

[แก้] เกร็ด

  • สีของยาบ้าจะบ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น แหล่งผลิต ความเข้มข้นของตัวยา สีที่พบบ่อย ได้แก่
1. สีส้ม คือสีส่วนใหญ่ของยาบ้า แหล่งผลิตตามแนวชายแดนประเทศไทย หรือในประเทศเทศไทยเอง ถือว่าเป็นสีมาตรฐานของยาบ้า 2. สีเหลืองดอกคูณ เป็นยาบ้าที่มีตัวสารเสพติดสูงกว่าแบบสีส้ม แหล่งที่มา ประเทศพม่า 3. สีช็อกโกแลต เอกลักษณ์คือกลิ่นจะหอมเหมือนช็อกโกแลต ทำให้ผู้เสพใหม่ๆติดใจในกลิ่น เพราะเสพง่าย บางครั้งมีรสหวานติดมากับควันด้วย 4. สีกะปิ เป็นยาบ้าโบราณ เกิดเมื่อสมัยยาบ้าระบาดแรกๆ มักจะมีอักษรปั๊มว่า ฬ99 สีนี้ผลิตในเมืองไทยสมัยยังไม่ผิดกฎหมาย 5. สีม่วง ยาบ้าสีนี้ไม่ทราบที่มา แต่จะระบาดในช่วงปี ค.ศ. 1997-1999 เป็นสีที่หายากมากเพราะผลิตออกมาน้อย 6. สีเขียว สีเขียวเป็นยาบ้าชนิดพิเศษ จะมีตัวสารเสพติดแรงกว่ายาบ้าสีอื่นๆถึง 5 เท่า จะใส่มาในถุง 1 ถุงจะมียาบ้าสีเขียวจำนวนเพียง 2 เม็ดเท่านั้น (1 ถุงมี 200 เม็ด) ส่วนอีก 198 เม็ดจะเป็นสีส้ม บางความเชื่อของผู้เสพรวมทั้งผู้ขายเชื่อว่ายาบ้าสีเขียวคือสารดูดความชื้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทางผู้ผลิตทำขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าใน 1 ถุงมีจำนวนยาเท่าใด (ยาบ้าสีเขียว 1 เม็ด แสดงว่ามียาบ้าสีส้ม 99 เม็ด) 7. สีแดงอิฐ มีลักษณะสีเหมือนอิฐมอญ มีสารเสพติดค่อนข้างสูง 8. สีชมพู ยาบ้าชนิดนี้เป็นยาบ้าที่คุณภาพต่ำที่สุด ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้เสพ และราคาถูก 9. สีขาว เป็นยาบ้ารุ่นแรกสุดของสมัยที่เรียกว่ายาม้า
  • ถุงที่ใส่ยาบ้า จะเป็นลักษณะเหมือนซองยาสีน้ำเงิน เพราะทางผู้ผลิตต้องการให้สีของถุงบรรจุกลบสีของยาบ้า ถุงประเภทนี้จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหาซื้อไม่ได้ตามท้องตลาด คาดว่าผู้ผลิตผลิตหรือสั่งผลิตขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ เล็กกว่าถุงใส่ปกติทั่วไป
ยาบ้า 1 ถุงมี 200 เม็ด (ภาษานักค้ายาเรียกว่า 1 คอก) ใน 200 เม็ด จะมีเม็ดสีเขียว 2 เม็ด เป็นตัวคั่น ยาบ้า 10 ถุงเรียกว่า 1 มัด (2000 เม็ด) จะมีลักษณะเป็นมัดพันด้วยกระดาษสีน้ำตาลแล้วห่อด้วยสก็อตเทปใสเพื่อป้องกันน้ำเข้า ยาบ้า 1 แถว มี 10 เม็ด นักค้ายาจะแพ็คใส่หลอดกาแฟพลาสติกเป็นแท่ง ๆ ละ 10 เม็ด ยาบ้า 1 ขา มี 1 ส่วน 4 เม็ด หมายความว่า 1 เม็ดแบ่งเป็นสี่ส่วน
  • อักษรบนตัวยาบ้า อักษรบนตัวยาบ้ามีหลายชนิดมีที่มาต่างกัน เช่น
ถ้าเป็นตัวภาษาอังกฤษหรือรูปภาพต่างๆ ยาบ้าชนิดนี้จะผลิตในต่างประเทศ ในสมัยก่อนยาบ้าหรือยาขยันนี้ยังไม่ผิดกฎหมาย นักเคมีบางกลุ่มได้สูตรการผลิตมาจากยุโรปจึงนำมาสร้างภาพลักษณ์ของตัวเอง โดยพิมพ์อักษรลงไปบนเม็ดยาว่า 99, ฬ99, ฬ สามแบบที่ว่านี้ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย (ไทยผลิตก่อนว้าแดง) ต่อมาทางการเริ่มยกระดับเป็นยาเสพติด อักษรไทยต่างๆ เหล่านี้จึงหายไปจากวงการค้ายาเสพติด
อักษร WY อักษรนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อที่ชนกลุ่มน้อย (ว้าแดง) นำยาเสพติดไปผลิตเพื่อจำหน่าย โดยพวกเขาได้ใช้สัญลักษณ์นี้บนตัวยาบ้าที่เขาผลิตขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าทราบว่ายาชนิดนี้ผู้ใดเป็นผู้ผลิต ส่วนความหมายนั้นจนปัจจุบันยังเป็นปริศนาอยู่ว่า WY หมายความว่าอะไร

[แก้] อ้างอิง

ความหมายของอักษร "WY" นั้นย่อมาจาก W หมายถึง ว้า หรือชนเผ่าว้าแดงชนเผ่าที่ผลิต Y หมายถึงสถานที่ที่ผลิต ในที่นี้คือ เมืองยอน เพราะฉนั้น คำว่า WY จึงย่อมาจากคำว่า " ว้า เมือง ยอน " นั้นเอง ยาบ้าหรือ Methamphetamine เป็นยาที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ในสหรัฐใช้ยาชนิดนี้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ป.ป.ส. ในปี 2539 พบว่า ในจำนวน 301 ตัวอย่าง ที่เก็บจากพื้นที่ 50 จังหวัดทั่วประเทศ จำแนกเป็นสีต่าง ๆ ได้ถึง 27 สี และมีสัญลักษณ์ทั้งสิ้น 20 สัญลักษณ์ ซึ่งทั้งสีและสัญลักษณ์ เหล่านี้จะถูกใช้เป็นตัวโฆษณาถึงคุณภาพและราคาของยาบ้าซึ่งขณะนี้ เป็นความเชื่อของผู้เสพว่า ยาบ้าชนิดสีเขียวจะมีคุณภาพดี ที่สุดโดยตั้งชื่อต่าง ๆ เช่น เขียวมรกต", เขียวปากถุง", "ม้ามรกต" หรือ "มฤตยูสีเขียว" เป็นต้น และถ้าหากมีสัญลักษณ์ WY/- แล้วยิ่งมีคุณภาพดี แต่จากการตรวจหาสารประกอบของยาบ้าแต่ละชนิด มักไม่พบความแตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่ของยาบ้าใน ท้องตลาดมีส่วนประกอบของเมทแอมเฟตามีน ไฮโดรคลอไรด์ ประมาณ 20-25 มิลลิกรัม หรือร้อยละ 20-30 คาเฟอีนประมาณ 45-55 มิลลิกรัม หรือร้อยละ 40-60 ที่เหลือเป็นแป้งและน้ำตาล ยาบ้าบางชนิดอาจจะมีอีฟีดีนผสมอยู่บ้าง โดยสารคาเฟอีนและอีฟีดีน ก็เป็นสารกระตุ้นประสาทจำพวกหนึ่ง แต่ออกฤทธิ์ไม่รุนแรงเท่าเมทแอมเฟตามีน ซึ่งถ้าชนิดใดมีเฉพาะสารคาเฟอีน หรือ อีฟีดีน โดยไม่มีสารเมทแอมเฟตามีนเราจะเรียกยาบ้าชนิดนั้นว่า "ยาบ้าปลอม"